
พ.ศ. 2517
สภามหาวิทยาลัยขอนแก่น มีมติอนุมัติให้ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต (อ.บ.) สาขาวิชา บรรณารักษศาสตร์ (Library Science) ในวันพุ ธที่ 11 กันยายน 2517 เพื่อผลิตบรรณารักษ์ ออกไปทำงานในโรงเรียนและหน่วยงานต่าง ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ยังขาดแคลน บรรณารักษ์อยู่อีกเป็นจำนวนมาก
พ.ศ. 2518
เปิดสอนนักศึกษาปริญญาตรี หลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ รุ่นแรก
พ.ศ. 2521
สถาปนาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในวันที่ 17 กรกฎาคม 2521 จึงโอน ย้ายภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ มาสังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และปรับปรุงหลักสูตรจากอักษรศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ เป็นหลักสูตร ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์
พ.ศ. 2531
เปลี่ยนชื่อภาควิชาบรรณารักษศาสตร์เพื่อให้รองรับการขยายตัวของ ศาสตร์ เป็น ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 105 ตอนที่ 194 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2531)
พ.ศ. 2532
ปรับปรุงหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ เป็นหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ (Library and Information Science)
พ.ศ. 2545
ปรับปรุงหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ และสารนิเทศศาสตร์ เป็น หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) สาขาวิชาสารสนเทศาสตร์ (Information Science) และเปิดสอนรายวิชาโทการจัดการสารสนเทศ (IM) และ การประชาสัมพันธ์ (PR) ในปีเดียวกัน
พ.ศ. 2549
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้ปรับโครงสร้างการบริหาร ตามนโยบายของมหาวิทยาลัย โดยยกเลิกการบริหารงานแบบภาควิชา มาเป็นแบบกลุ่ม วิชา ส่งผลให้ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ ปรับเปลี่ยนเป็น กลุ่มวิชา สารสนเทศและการสื่อสาร ทำหน้าที่บริหารจัดการกลุ่มวิชาและหลักสูตรในสังกัดกลุ่มวิชา ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี-โท-เอก
พ.ศ. 2555
ปรับปรุงหลักสูตรหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาส ารสนเทศ ศาสตร์ โดยกำหนดหมวดวิชาเอกเลือก แบ่งเป็น 3 กลุ่มวิชา (Track) คือ กลุ่มวิชาการจัดการ สารสนเทศ (Information Management: IM) กลุ่มวิชาระบบและเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information System and Technology: IT) และกลุ่มวิชาการสื่อสารสารสนเทศ (Information Communication: IC) เปิดวิชาโท การจัดการสารสนเทศ, การจัดการจดหมาย เหตุดิจิทัล, การประชาสัมพันธ์
พ.ศ. 2557
ปรับปรุงหลักสูตรหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศ ศาสตร์ เป็นหลักสูตรสารสนเทศศาสตรบัณฑิต โดยปริญญาที่ได้คือ สารสนเทศศาสตร บัณฑิต (สท.บ.) เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อหลักสูตรและปริญญาในสาขาวิชาต่าง ๆที่กำหนด โดยสำนักงานคณะกรรมการก ารอุดมศึกษาแห่งชาติ นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นให้เป็นหลักสูตรที่ เชื่อมโยงกับวิชาชีพสารสนเทศในระดับสากลและการสร้างโอกาสในการทำงานของบัณฑิต ในอนาคต แต่ยังไม่เปิดรับนักศึกษา และยังคงใช้หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา สารสนเทศศาสตร์ (2555) จนกระทั่งถึงปีพ.ศ. 2559
พ.ศ. 2559
เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรสารสนเทศศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร ปรับปรุง 2557)
พ.ศ. 2560
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้ปรับโครงสร้างการบริหารงาน คณะใหม่ ส่งผลให้กลุ่มวิชากลุ่มวิชาสารสนเทศและการสื่อสาร เปลี่ยนเป็น สาขาวิชา สารสนเทศศาสตร์
พ.ศ. 2561
สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ ได้รับคัดเลือกให้เป็นสมาชิกของ The iSchools Organization ซึ่งเป็นองค์กรเครือข่ายสถาบันชั้นนำที่เปิดสอนในสาขาวิชา สารสนเทศศาสตร์ทั่วโลก โดยเป็นสถาบันแรกในประเทศไทย และลำดับที่ 100 ของโลก ดังนั้นจึงสามารถเรียกชื่อสาขาวิชาแบบสากลว่า "iSchool KKU"
พ.ศ. 2561
หลักสูตรสารสนเทศศาสตรบัณฑิต ได้รับคัดเลือกจากสำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ตามหนังสือที่ ศธ 0506/ว 1090 ลงวันที่ 6 กรกฎาคม 2561 ให้เข้าร่วมโครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ และกำลังคนที่มีสมรรถนะ เพื่อตอบโจทย์ ภาคการผลิตตาม นโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย (2561-2565) ประเภท Degree ใน กลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัล ซึ่งเป็น 1 ใน 5 New S-curve ที่รัฐบาลมุ่งเน้นการพัฒนาตาม วิสัยทัศน์ “Thailand 4.0” ทำให้นักศึกษา รหัส 58, 59,60,61 ได้เข้าร่วมโครงการ และปรับ การเรียนการสอนจากระบบรายวิชา สู่ระบบชุดวิชา (Module) และนำ WiL มาใช้อย่าง เข้มข้นเป็นครั้งแรก
พ.ศ. 2562
ปรับปรุงหลักสูตรสารสนเทศศาสตรบัณฑิต (2559) ให้เป็นหลักสูตร ที่เน้นการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมอย่างพลิก ผัน (Disruptive innovation) ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) และ ตอบสนองนโยบาย KKU Transformation ตามแผนยุทธศาสตร์การบริหาร มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. 2563-2566 ตลอดจนได้มาตรฐานสากล ตามแนวทางของ The iSchools Organization และเป็นไปตาม TOR ของโครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ฯ โดยถือ เป็นหลักสูตรกระบวนทัศน์ใหม่ที่สอนเป็นชุดวิชา (Module) ทั้งหมด หลักสูตรแรกใน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
พ.ศ. 2564
ปรับปรุงวิชาโทการประชาสัมพันธ์ เป็น วิชาโทการสื่อสารและการ ประชาสัมพันธ์ดิจิทัล (D-ComPR) จัดการเรียนรู้ตามกระบวนทัศน์ใหม่ และนำ WIL มาใช้ ในชุดวิชา
พ.ศ. 2567
ปรับปรุงหลักสูตรสารสนเทศศาสตรบัณฑิต ให้ทันต่อความ เปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล ตอบสนองความต้องการกำลังคนในสายงานการเปลี่ยนผ่านเป็น ดิจิทัล (Digital Transformation: DX) มีปรัชญาของหลักสูตร คือ
“ผลิตนักวิชาชีพสมรรถนะสูง ประกอบด้วยวิทยา (Knowledge & Skills) จริยา (Ethics & Characters) ปัญญา (Wisdom) เพื่อสร้างการเปลี่ยนผ่านเป็นดิจิทัล (DX) ในองค์การที่ ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล สารสนเทศ และความรู้ โดยการจัด การศึกษาตามกระบวนทัศน์การเรียนรู้ใหม่ เพื่อเป็นกลไกสำคัญ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ของประเทศอย่างยั่งยืน”
มีวัตถุประสงค์ในการสร้างนักวิชาชีพที่มีสมรรถนะดังนี้
มีทัศนคติ (Attitudes) ในการปรับตัวและแสวงหา ความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต มีจิตสำนึกของความ เป็นพลเมืองดีที่สร้างสรรค์ประโยชน์ต่อสังคม และปฏิบัติตนตาม หลักคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
มีทักษะ (Skills) วิชาชีพทางสารสนเทศศาสตร์ และ ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในงานเชิงกลยุทธ์การเปลี่ยนผ่านเป็นดิจิทัล (DX) และทักษะทั่วไป ที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในในยุค ดิจิทัล
มีทัศนคติ (Attitudes) ในการปรับตัวและแสวงหา ความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต มีจิตสำนึกของความ เป็นพลเมืองดีที่สร้างสรรค์ประโยชน์ต่อสังคม และปฏิบัติตนตาม หลักคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ

